วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ที่มา : http://www.board.fortunestars.com/picpost/20091412202913.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี ( พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา ( พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย

- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ( นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
- พระเจ้ารามณรงค์ ( บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ ( นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( นามเดิมว่า ทองด้วง)
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ( นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา ( นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทว ( นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี

พระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณ อัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
พระนามย่อ -
พระนามเดิม ทองด้วง
พระราชสมภพ ที่นิวาสสถานภายในกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตำบลป่าตอง วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ เวลา 3 ยาม ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช 1098 ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี" ดำรงบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพินิจอักษร ตำแหน่งเสมียนตรา ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และพระอัครชายา (พระนามเดิม " หยก")
เสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45พรรษา

เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ (บางแห่งพระนามเดิมว่า หวาน)
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร - พระนามเดิมว่า ฉิม)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าแจ่มกระจ่างฟ้า กรมหลวงศรีสุนทรเทพ ( พระนามเดิมว่า แจ่ม)
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ( นามเดิมว่า จุ้ย)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี ( พระนามเดิมว่า เอี้ยง)
- เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
- เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) - เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์
เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 1171 ตรงกับวันที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2352 พระชนมพรรษา 74 พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 27 พรรษา
วัดประจำรัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคาราม ( วัดโพธิ์)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) กรุงเทพมหานคร
ที่มา : http://www.amulet.in.th/forums/images/1205.jpg
ในด้านการศาสนา ได้โปรด ให้มีการสังคายนา ชำระ พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง หอ มณเฑียรธรรม ขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับ เป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรง จัดการปกครองคณะสงฆ์ให้ เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวัน มิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตร ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงาน จากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจากจางวาง และปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหาร และพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่า นำใบบอกหัวเมืองมากราบทูล ทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆอยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น บรรทม เป็นพระราชกริยาวัตร ตลอดมา
ภาพ:สัญร1.png
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1
ที่มา : http://www.oursiam.in.th/content/picture/lanja_korn_1_3.jpg
เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2338
เหตุการณ์สำคัญ
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
ที่มา : http://thaigoodview.com/files/u31998/pano_07.jpg
  • พ.ศ.2325 ขึ้นครองราชย์ สถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์
เสาหลักพระนคร
ที่มา : http://www.travel-at-thailand.ob.tc/Images/441.jpg

  • ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครใหม่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 21 เมษายน ตรงกับ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถานอมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" ( ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก " บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")
  • องเชียงสือ (ญวน) เชื้อสายราชวงศ์เหวียน กษัตริย์ญวนพ่ายแพ้ต่อกบฏไกเซินที่เข้ายึดไซ่ง่อนได้ ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
  • นักองค์เอง (เขมร) ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
  • โปรดให้อาลักษณ์คัดนิทานอิหร่านราชธรรม
  • พ.ศ.๒๓๒๖ กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ที่มา : http://www.lungthong.com/view_product.php?product=14909&cat_id=27
  • ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
  • พ.ศ.๒๓๒๗ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ ทรงพระราชทานนามพระอารามว่า " วัดพระศรีรัตนศาสดาราม " ใช้เป็นที่ประชุมในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yo-sa&month=09-09-2009&group=13&gblog=2
  • สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือ จดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ
สงครามเก้าทัพ
ที่มา : http://www.m-culture.go.th/ckfinder/userfiles/images/History/19-10-09/img25-1.jpg
  • พ.ศ.2328 โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมบูรณ์แบบ อย่างโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท โปรดให้สร้างขึ้นด้วยไม้ทั้งองค์ หลังคาคาดด้วยดีบุก โดยถ่ายแบบจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในพระนครศรีอยุธยา
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท (เมืองโบราณ บางปู สมุทรปราการ)
ที่มา : http://www.2how.com/board/picture/1005/13brt457.jpeg
พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/_s0nEIBphm78/ScPnJccMJrI/AAAAAAAAA9Q/v7zxxjktpds/s400/
  • พ.ศ.๒๓๒๙ สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง
  • ทรงพระราชนิพนธ์ นิราศรบพม่าท่าดินแดง
ที่มา : http://www.digitalrarebook.com/images/catalog_images/1310201331.jpg
  • กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงนำทัพไปรับทัพพม่าที่เข้ามาทางใต้ แต่เมื่อกองทัพไปถึงพม่าพากันถอยหนีไปแล้ว เวลานั้นพอดีกับเจ้าเมืองตานีคิดแข็งเมือง จึงทรงยกทัพไปตีเมืองตานีได้เช่นเดิม และนำปืนใหญ่ประจำเมืองขึ้นมาน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเชษฐาธิราช
  • โปรตุเกสขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
  • อังกฤษเช่าเกาะปีนัง จากพระยาไทรบุรี
  • พ.ศ.2330 องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ ตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าเวียตนามญาลอง
  • เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบัญชาการทัพ ตีค่ายปีกกาของพม่า ที่จะเป็นทางเดินทัพไปยังเมืองทวาย และตีค่ายปีกกาแตกภายในวันเดียว
  • พ.ศ.๒๓๓๑ โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะและราชบัณฑิตทั้งหลาย ประชุมทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดนิพพานาราม ใช้เวลา 5 เดือน แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2332 แล้วโปรดให้จารึกลงลานไว้เป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง ปิดทองทึบทั้งใบปกหน้าและหลังกรอบ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง ให้เก็บรักษาไว้ที่หอพระมนเทียรธรรม ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาเกิดเพลิงไหม้หอพระมนเทียรธรรม แต่มิทันไหม้พระไตรปิฎกเพราะอัญเชิญออกมาทัน จึงโปรดให้สร้างพระมณฑปขึ้นเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแทน ส่วนหอพระมนเทียรธรรมนั้น โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระมณฑป
  • พ.ศ.2332 เกิดอสนีบาตตกต้องที่หน้ามุขเด็จ เพลิงลุกลามไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท เสียหายเกือบทั้งองค์ จึงโปรดให้รื้อลง แล้วสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน
  • พ.ศ.2333 องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จ จัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย
  • พ.ศ.2337 ทรงอภิเษกให้นักองค์เอง เป็น สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ไปครองกรุงกัมพูชา
  • พ.ศ.2338 ชำระพระราชพงศาวดาร
  • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาพิชัยราชรถ สำหรับอัญเชิญพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ซึ่งต่อมาใช้เป็นพระราชรถอัญเชิญพระบรมศพพระมหากษัตริย์ไปยังทุ่งพระเมรุ
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
ที่มา : http://www.uthaithani.go.th/mahachanok.html
  • มีช้างเผือกเชือกแรกมาสู่พระบารมี ได้รับพระราชทานนามว่า พระอินทรไอยราคชาชาติฉัททันต์ พิศผิวพรรณเผือกราตรี ศรียอดตองตากแห้ง วิศณุแกล้งรังรักษ์ มงคลลักษณเลิศฟ้า
  • พ.ศ.2339 งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
  • พ.ศ.2340 ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์
  • พ.ศ.2342 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเวชยันตราชรถ
เวชยันตราชรถ
ที่มา : http://thaihandiwork.com/images/royalfamily129.jpg
  • พ.ศ.2344 ฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดสระเกศ
  • ฟื้นฟูการเล่นสักวา
  • พ.ศ.2345 ราชาภิเษกพระเจ้าเวียตนามญาลอง (องเชียงสือ)
  • พ.ศ.๒๓๔๗ โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต ประชุมชำระพระราชกำหนดบทอัยการบรรดามีอยู่ในหอหลวง ที่ตกทอดมาแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยา จัดประมวลหมวดหมู่ให้ถูกต้องยุติธรรม พร้อมกับเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวม 3 ฉบับ ให้เก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ที่หอหลวงฉบับหนึ่ง และที่ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง โดยประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว เป็นสำคัญทุกฉบับ กฎหมายฉบับนี้จึงเรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"
บทเรียนบนเครือข่ายเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ที่มา : http://www.board.fortunestars.com/picpost/20091412202913.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี ( พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา ( พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย

- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ( นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
- พระเจ้ารามณรงค์ ( บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ ( นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( นามเดิมว่า ทองด้วง)
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ( นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา ( นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทว ( นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี

พระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณ อัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
พระนามย่อ -
พระนามเดิม ทองด้วง
พระราชสมภพ ที่นิวาสสถานภายในกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตำบลป่าตอง วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ เวลา 3 ยาม ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช 1098 ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี" ดำรงบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพินิจอักษร ตำแหน่งเสมียนตรา ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และพระอัครชายา (พระนามเดิม " หยก")
เสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45พรรษา

เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ (บางแห่งพระนามเดิมว่า หวาน)
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร - พระนามเดิมว่า ฉิม)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าแจ่มกระจ่างฟ้า กรมหลวงศรีสุนทรเทพ ( พระนามเดิมว่า แจ่ม)
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ( นามเดิมว่า จุ้ย)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี ( พระนามเดิมว่า เอี้ยง)
- เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
- เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) - เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์
เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 1171 ตรงกับวันที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2352 พระชนมพรรษา 74 พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 27 พรรษา
วัดประจำรัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคาราม ( วัดโพธิ์)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) กรุงเทพมหานคร
ที่มา : http://www.amulet.in.th/forums/images/1205.jpg
ในด้านการศาสนา ได้โปรด ให้มีการสังคายนา ชำระ พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง หอ มณเฑียรธรรม ขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับ เป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรง จัดการปกครองคณะสงฆ์ให้ เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวัน มิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตร ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงาน จากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจากจางวาง และปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหาร และพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่า นำใบบอกหัวเมืองมากราบทูล ทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆอยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น บรรทม เป็นพระราชกริยาวัตร ตลอดมา
ภาพ:สัญร1.png
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1
ที่มา : http://www.oursiam.in.th/content/picture/lanja_korn_1_3.jpg
เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2338
เหตุการณ์สำคัญ
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
ที่มา : http://thaigoodview.com/files/u31998/pano_07.jpg
  • พ.ศ.2325 ขึ้นครองราชย์ สถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์
เสาหลักพระนคร
ที่มา : http://www.travel-at-thailand.ob.tc/Images/441.jpg

  • ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครใหม่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 21 เมษายน ตรงกับ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถานอมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" ( ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก " บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")
  • องเชียงสือ (ญวน) เชื้อสายราชวงศ์เหวียน กษัตริย์ญวนพ่ายแพ้ต่อกบฏไกเซินที่เข้ายึดไซ่ง่อนได้ ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
  • นักองค์เอง (เขมร) ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
  • โปรดให้อาลักษณ์คัดนิทานอิหร่านราชธรรม
  • พ.ศ.๒๓๒๖ กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ที่มา : http://www.lungthong.com/view_product.php?product=14909&cat_id=27
  • ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
  • พ.ศ.๒๓๒๗ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ ทรงพระราชทานนามพระอารามว่า " วัดพระศรีรัตนศาสดาราม " ใช้เป็นที่ประชุมในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yo-sa&month=09-09-2009&group=13&gblog=2
  • สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือ จดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ
สงครามเก้าทัพ
ที่มา : http://www.m-culture.go.th/ckfinder/userfiles/images/History/19-10-09/img25-1.jpg
  • พ.ศ.2328 โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมบูรณ์แบบ อย่างโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท โปรดให้สร้างขึ้นด้วยไม้ทั้งองค์ หลังคาคาดด้วยดีบุก โดยถ่ายแบบจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในพระนครศรีอยุธยา
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท (เมืองโบราณ บางปู สมุทรปราการ)
ที่มา : http://www.2how.com/board/picture/1005/13brt457.jpeg
พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/_s0nEIBphm78/ScPnJccMJrI/AAAAAAAAA9Q/v7zxxjktpds/s400/
  • พ.ศ.๒๓๒๙ สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง
  • ทรงพระราชนิพนธ์ นิราศรบพม่าท่าดินแดง
ที่มา : http://www.digitalrarebook.com/images/catalog_images/1310201331.jpg
  • กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงนำทัพไปรับทัพพม่าที่เข้ามาทางใต้ แต่เมื่อกองทัพไปถึงพม่าพากันถอยหนีไปแล้ว เวลานั้นพอดีกับเจ้าเมืองตานีคิดแข็งเมือง จึงทรงยกทัพไปตีเมืองตานีได้เช่นเดิม และนำปืนใหญ่ประจำเมืองขึ้นมาน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเชษฐาธิราช
  • โปรตุเกสขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
  • อังกฤษเช่าเกาะปีนัง จากพระยาไทรบุรี
  • พ.ศ.2330 องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ ตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าเวียตนามญาลอง
  • เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบัญชาการทัพ ตีค่ายปีกกาของพม่า ที่จะเป็นทางเดินทัพไปยังเมืองทวาย และตีค่ายปีกกาแตกภายในวันเดียว
  • พ.ศ.๒๓๓๑ โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะและราชบัณฑิตทั้งหลาย ประชุมทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดนิพพานาราม ใช้เวลา 5 เดือน แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2332 แล้วโปรดให้จารึกลงลานไว้เป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง ปิดทองทึบทั้งใบปกหน้าและหลังกรอบ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง ให้เก็บรักษาไว้ที่หอพระมนเทียรธรรม ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาเกิดเพลิงไหม้หอพระมนเทียรธรรม แต่มิทันไหม้พระไตรปิฎกเพราะอัญเชิญออกมาทัน จึงโปรดให้สร้างพระมณฑปขึ้นเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแทน ส่วนหอพระมนเทียรธรรมนั้น โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระมณฑป
  • พ.ศ.2332 เกิดอสนีบาตตกต้องที่หน้ามุขเด็จ เพลิงลุกลามไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท เสียหายเกือบทั้งองค์ จึงโปรดให้รื้อลง แล้วสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน
  • พ.ศ.2333 องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จ จัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย
  • พ.ศ.2337 ทรงอภิเษกให้นักองค์เอง เป็น สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ไปครองกรุงกัมพูชา
  • พ.ศ.2338 ชำระพระราชพงศาวดาร
  • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาพิชัยราชรถ สำหรับอัญเชิญพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ซึ่งต่อมาใช้เป็นพระราชรถอัญเชิญพระบรมศพพระมหากษัตริย์ไปยังทุ่งพระเมรุ
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
ที่มา : http://www.uthaithani.go.th/mahachanok.html
  • มีช้างเผือกเชือกแรกมาสู่พระบารมี ได้รับพระราชทานนามว่า พระอินทรไอยราคชาชาติฉัททันต์ พิศผิวพรรณเผือกราตรี ศรียอดตองตากแห้ง วิศณุแกล้งรังรักษ์ มงคลลักษณเลิศฟ้า
  • พ.ศ.2339 งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
  • พ.ศ.2340 ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์
  • พ.ศ.2342 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเวชยันตราชรถ
เวชยันตราชรถ
ที่มา : http://thaihandiwork.com/images/royalfamily129.jpg
  • พ.ศ.2344 ฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดสระเกศ
  • ฟื้นฟูการเล่นสักวา
  • พ.ศ.2345 ราชาภิเษกพระเจ้าเวียตนามญาลอง (องเชียงสือ)
  • พ.ศ.๒๓๔๗ โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต ประชุมชำระพระราชกำหนดบทอัยการบรรดามีอยู่ในหอหลวง ที่ตกทอดมาแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยา จัดประมวลหมวดหมู่ให้ถูกต้องยุติธรรม พร้อมกับเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวม 3 ฉบับ ให้เก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ที่หอหลวงฉบับหนึ่ง และที่ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง โดยประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว เป็นสำคัญทุกฉบับ กฎหมายฉบับนี้จึงเรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"
กฎหมายตราสามดวง
ที่มา : http://imageshack.us/photo/my-images/522/92422741.jpg/
  • พ.ศ.2349 ทรงอภิเษกให้ นักองค์จันทร์ เป็น สมเด็จพระอุทัยราชา ครองกรุงกัมพูชา
  • พ.ศ.2350 เริ่มสร้าง วัดสุทัศน์เทพวราราม
  • พ.ศ.2352 เสด็จสวรรคต
จัดทำโดย นางวรรณภา คำสอน ครู คศ. 2 วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนหันคาพิทยาคม